วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การเข้าเรียน ครั้งที่ 6

วันที่ 17  กรกฎาคม  2556


หมายเหตุ      เนื่องจากวันนี้อาจารย์ผู้สอนติดภาระกิจ จึงไม่มีการเรียนการสอน   แต่อาจารย์ผู้สอนได้มอบหมายงานไว้   คือ  ให้คิดการทดลองวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และ  สื่อวิทยาศาตร์ที่ไว้ในมุมเสริมประสบการณ์


เนื่องจากอาทิตย์ที่แล้วส่งของเล่น ไม่ผ่าน อาจารย์ให้ไปหาไหม เป็น จรวดของฉันค่ะ 
 ของที่เราต้องการก็มี แกนทิชชู่ยาว 1 อัน, แกนทิชชู่สั้น 1 อัน เศษกระดาษลัง, กรรไกร, กาวลาเท็กซ์*ไม่ได้ถ่ายแกนทิชชู่สั้นด้วยนะคะ ทีแรกไม่คิดว่าจะใช้ แต่พอทำๆ ไปแล้วไอเดียบรรเจิดค่ะ**การตัด/การประกอบ เล็กไม่ได้วัด ไม่ได้ใช้ไม้บรรทัดเลยนะคะ กะๆ เอาทั้งหมด

วิธีทำส่วนหัว
• ตัดแกนทิชชู่ เป็น 4 ส่วนเท่าๆ กัน จากขอบนอกเข้ามาด้านในลึกประมาณ 2.5” (รูปที่ 1-2)
• รวบแต่ละชิ้นเข้าหากัน โดยจับเรียงซ้อนไปในทางเดียวกัน (รูปที่ 3)
• ใช้มือรวบจนแน่นให้เป็นโคนแหลมเหมือนหัวจรวด (รูปที่ 4)
• คลายออก แล้วทากาวติดแต่ละชิ้นเข้าด้วยกัน (รูปที่ 5)
• จะได้เป็นโคนแหลมอย่างนี้ (รูปที่ 6)

วิธีทำส่วนฐาน
• ตัดกระดาษลังเป็นสี่เหลื่ยมผืนผ้าขนาดประมาณ 2”x 4” = 2 ชิ้น
• วางซ้อนกันแล้วตัดบากเข้ามาตรงกลาง (รูปที่ 1-2)
• จากรูปที่ 2 เอาส่วนที่เราบากไว้ สอดเข้าหากัน แล้วตัดแต่งรูปทรงของปีก (รูปที่ 3)
• วัดความสูงของฐาน (รูปที่ 4)
• ตัดแกนทิชชู่ เป็น 4 ส่วนเท่าๆ กัน จากขอบนอกเข้ามาด้านในลึกเท่ากับความสูงของฐาน (รูปที่ 5-6)
• ประกอบฐานเข้ากับจรวด (รูปที่ 7-8)
• ติดท่อไอพ่น – ตัดแกนทิชชู่เล็ก ขนาดประมาณ 2”x 2” ม้วนเป็นทรงกระบอก ทากาว (รูปที่ 9)
• ทากาวที่ช่องใต้จรวด (รูปที่ 10) ติดท่อเข้าไป (รูปที่ 11) ทั้ง 4 ช่อง (รูปที่ 12)

ระบายสี
เล็กใช้สีอะครีลิคนะคะ อย่างที่เคยบอก สีอะครีลิคมันจะติดแน่น ติดทน ไม่เลอะมือเวลาเอามาเล่น แถมยังเงาสวยอีกด้วย ระบายไปตามภาพที่เราเห็นในหนังสือเลยค่ะ
เสร็จแล้วคร๊าบบ.บ..บ..!!

*เล็กใช้เวลาทำทั้งหมดประมาณชั่วโมงนิดๆ เพราะรวมเวลาที่น้องภูมิเข้ามาช่วย (วุ่น ลุ้นติดขอบ) ด้วยค่ะ -”-






การเข้าเรียน ครั้งที่ 5
วันที่ 10 กรกฎาคม 2556

กิจกรรมการเรียนการสอน 

องค์ความรู้ที่ได้รับ

     -  นำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์
ของเล่นจากในครัวที่ทำง่ายสุดๆ แต่ออกจะสิ้นเปลืองเล็กน้อย 
เล็กอยากทำให้ลูกเล่นตั้งแต่เมื่อครั้งทำแมงกะพรุนแล้ว แต่รู้สึกเสียดายน้ำมันพืชที่ต้องใช้ เพราะเล็กอยากจะทำขวดใหญ่ๆ ให้ลูกเล่น เพิ่งมาได้จังหวะเหมาะเมื่ออาทิตย์ก่อน น้ำมันพืชที่เปิดใช้มานานแล้วแต่ยังไม่หมด เริ่มมีกลิ่นหืนๆ (มีข้ออ้างที่จะเอามาเทเล่นล่ะ 555+) ไหนๆ ก็ไหนๆ เอามาทำทะเลในขวดดีกว่า
อุปกรณ์นะคะ
• ขวดน้ำพลาสติกพร้อมฝาปิด
• นำ้มันพืช
• สีผสมอาหารสีน้ำเงิน
• กรวดก้อนเล็กๆ
• ปลาของเล่นตัวเล็กๆ
• กากเพชร (ถ้ามี)

วิธีทำ
ไม่ยากเลยค่ะ เด็กที่โตหน่อยก็ให้ลงมือเองได้เลย ถ้าเด็กเล็กๆ อย่างน้องภูมิคุณแม่อาจจะก็ต้องคอยบอกและคอยช่วยบ้าง
• เริ่มจากใส่น้ำลงไปในขวดน้ำพลาสติก ประมาณ 1 ส่วน 3 ของขวด
• หยดสีผสมอาหารสีน้ำเงิน ลงไปเล็กน้อย เพื่อให้น้ำเป็นสีน้ำเงิน

• จากนั้นเทน้ำมันพืชลงไปจนเต็มขวด
(ขั้นตอนนี้เล็กให้น้องภูมิสังเกตไปด้วยกัน ว่าน้ำกับน้ำมันจะไม่ผสมกัน)

ที่เหลือก็เป็นการตกแต่งใต้มหาสมุทรตามแต่จินตนาการและของที่มี ที่บ้านเล็กมีเพียงแค่ปลาของเล่นตัวเล็กๆ ก้อนกรวดและก็กากเพชร เล็กให้น้องภูมิค่อยๆ หย่อนทุกอย่างลงไปในขวด ปิดฝาขวดเป็นอันเสร็จค่ะ ^^


เวลาเล่นก็โยกขวดไป-มา น้ำกับน้ำมันในขวดจะเคลื่อนไหวในลีลาที่คล้ายคลื่นในมหาสมุทรค่ะ



*ของตกแต่งที่ใส่ลงไปในขวดอาจจะเป็น ทราย, กระดุม, เปลือกหอย, ของเล่นชิ้นเล็ก ฯลฯ 
แต่ของเล่นนี้ไม่ผ่าน อาจารย์จึงให้ไปหาไหม ส่งอาทิตย์หน้าค่ะ 

การเข้าเรียน ครั้งที่ 4

วันที่ 3 กรกฎคม  2556


กิจกรรมการเรียนการสอน

องค์ความรู้ที่ได้รับ

    -  อาจารย์ให้นักศึกษาทับทวนเนื้อหา สัปดาห์ที่แล้ว เรื่องแสงและเงา จากนั้นก็เปิดวีดีโอ เรื่อง       ความมหัศจรรย์ของน้ำให้นักศึกษาดู แล้วสรุปองค์ความรู้

ความมหัศจรรย์ของน้ำ


          ก่อนอื่นเราต้องมาทราบก่อนว่าวัตถุทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่ข้าง ๆ รอบตัวเรานี้ ล้วนแล้วแต่เป็นสสารทั้งสิ้น สสาร (Matter) คือ สิ่งที่มีตัวตน มีมวล และต้องการที่อยู่ สามารถสัมผัสได้โดยประสาทสัมผัสทั้ง 5 แต่ยังทราบสมบัติที่ไม่แน่นอน เช่น ดิน น้ำ อากาศ ฯลฯ ภายในสสารหรือเนื้อของสสาร เรียกว่า “สาร (substance)” ส่วน สาร (substance) คือ สสารที่ทราบสมบัติแน่นอน เช่น เงิน ทอง เหล็ก ฯลฯ ซึ่งสสาร สามารถแบ่งออกตามสถานะได้เป็น 3 ประเภท คือ ของแข็ง​ (solid) ของเหลว (liquid) และก๊าซ (gas) 

matter_waterwonder
ภาพที่ 1  แสดงประเภทของสสารตามสถานะ
สำหรับน้ำนั้นจัดเป็นสารประกอบเคมีตัวหนึ่ง ที่มีสูตรเคมี คือ H2O และ 1 โมเลกุลของน้ำจะประกอบไปด้วย ไฮโดรเจน (hydrogen, H) 2 อะตอม และ ออกซิเจน (oxygen, O) 1 อะตอม ที่เชื่อมกันด้วยพันธะโควาเลนต์ (covalent bond) ดังรูปข้างล่าง น้ำเป็นของเหลวที่อุณหภูมิและความดันมาตรฐาน (SATP, Standard conditions for temperature and pressure) แต่พบบนโลกที่สถานะของแข็ง (น้ำแข็ง) และสถานะแก๊ส (ไอน้ำ) อีกด้วย 
Note: อะตอม (atom) คือ หน่วยพื้นฐานของสสาร ประกอบด้วยส่วนของนิวเคลียส (nucleus) ที่หนาแน่นมากอยู่ตรงศูนย์กลาง ล้อมรอบด้วยกลุ่มหมอกของอิเล็กตรอน (electron) ที่มีประจุลบ นิวเคลียสของอะตอมประกอบด้วยโปรตอน (proton) ที่มีประจุบวกกับนิวตรอน (nutron) ซึ่งเป็นกลางทางไฟฟ้า
โมเลกุล (molecule) เกิดจากอะตอมของธาตุหลายชนิดมาเกิดพันธะเคมีกันกลายเป็นสารประกอบชนิดต่าง ๆ ซึ่งสามารถดำรงอยู่ได้ตามลำพังและยังคงความเป็นสารดังกล่าวไว้ได้ 
พันธะโควาเลนต์ (covalent bond) จัดเป็นพันธะเคมีภายในโมเลกุลชนิดหนึ่ง (intramolecular bond) ที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากอะตอม 2 อะตอมนำอิเล็กตรอนมาใช้ร่วมกัน โดยทั่วไปแล้วจะเป็นอะตอมของธาตุหมู่  IVA, VA, VIA และ VII ตามตารางธาตุ [2] (คลิกที่นี่ เพื่อดูตารางธาตุ)
water.004
ภาพที่ 2  แสดงคุณสมบัติของน้ำ
ลักษณะโมเลกุลของน้ำจะมีลักษณะโค้งงอ ประมาณ 104.5 องศา ซึ่งลักษณะดังกล่าวทำให้น้ำเป็นสารที่มีความเป็นขั้วสูง จึงจัดเป็นตัวทำละลายมีขั้วชนิดหนึ่ง (polar protic solvent) สำหรับสารที่สามารถละลายกับน้ำได้ดี เช่น เกลือ น้ำตาล สารละลายกรด-เบส แก๊สบางชนิด จะถูกเรียกว่า “ไฮโดรฟิลิก (hydrophilic)” และในทางตรงกันข้ามสารที่ไม่สามารถละลายเข้ากันกับน้ำได้ เนื่องจากสารนั้นไม่มีความเป็นขั้ว เช่น น้ำมัน ไขมัน เป็นต้น จะถูกเรียกว่า “ไฮโดรโฟบิก (hydrophobic)”  ซึ่งเราอาจใช้กฏที่ว่า like dissolves like
likedissolvelike_waterwonder.005-001
ภาพที่ 3  แสดงถึงตัวอย่างของกฏ like dissolved like
ตัวถูกละลาย (solute) ที่มีขั้วจะละลายในตัวทำละลาย (solvent) ที่มีขั้ว แต่จะไม่ละลายในตัวทำละลายที่ไม่มีขั้ว เช่น เอทานอล (CH3CH2OH) ละลายในน้ำ (H2O) แต่ไม่ละลายในเฮกเซน (C6H14) ในทางตรงข้าม ตัวถูกละลายที่ไม่มีขั้วจะละลายในตัวทำละลายที่ไม่มีขั้ว แต่จะไม่ละลายในตัวทำละลายที่มีขั้ว เช่น คาร์บอนเตตระคลอไรด์ (CCl4) ละลายในเบนซีน (C6H6) ไม่ละลายในน้ำ แต่ถ้าในกรณีที่สารหนึ่งมีขั้วน้อยกว่าอีกสารตัวหนึ่ง ความสามารถในการละลายก็ลดลง หรืออาจจะกล่าวอีกนัยคือละลายได้เพียงบางส่วนเท่านั้น” [3] มาช่วยในการพิจารณา 
วิดีโอแสดงโมเลกุลของน้ำ แบบ 3D (ball-stick)

สรุปองค์ความรู้ที่ได้
       อาจารย์ให้ดู vdo ของ ความมหัศจรรย์ของน้ำ หลังจากนั้นก็ให้นักศึกษาสรุปความรู้ที่ได้จากเรื่องนี้ส่งในช่วงโมง มีหัวข้อดังนี้
  • ความมหัศจรรย์ของน้ำ
  • แรงผลักดัน
  • การเกิดฝน
  • สถานะของน้ำ

การเข้าเรียน ครั้งที่ 3

วันที่ 26  มิถุนายน  2556


กิจกรรมการเรียนการสอน

องค์ความรู้ที่ได้รับ   

      -  ให้นักศึกษาดู VCD   เรื่อง..... ความลับของแสง รุ้งกินน้ำ   และสรุปองค์ความรู้หลักๆ

ปรากฏการณ์รุ้งกินน้ำ


ภาพรุ้งกินน้ำ
             รุ้งกินน้ำ (Rainbow) เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติซึ่งเกิดจากละอองน้ำในอากาศหักเหแสงอาทิตย์ทำให้เกิดแถบสเปกตรัมเป็นเส้นอาร์ควงกลมเหนือพื้นผิวโลก  แสงอาทิตย์หรือรังสีที่ตามมองเห็น (Visible light) มีความยาวคลื่น 400 - 800 นาโนเมตร  โดยที่แสงสีม่วงมีความยาวคลื่นสั้นที่สุดคือ 400 นาโนเมตร และแสงสีแดงมีความยาวคลื่นมากที่สุด  ภายหลังฝนตกมักจะมีละอองน้ำหรือหยดน้ำเล็กๆ ลอยอยู่ในอากาศ จะทำหน้าที่เสมือนปริซึมหักเหแสงอาทิตย์ (White light) ให้แยกออกเป็นสเปกตรัม 7 สี ได้แก่ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง  โดยถ้าแสงอาทิตย์ทำมุมกับหยดน้ำแล้วหักเหเป็นมุม 40° เข้าสู่แนวสายตา ก็จะมองเห็นเป็นแสงสีม่วง  แต่ถ้าแสงอาทิตย์ทำมุมกับหยดน้ำแล้วหักเหเป็นมุม 42° เข้าสู่แนวสายตา ก็จะมองเห็นเป็นแสงสีแดง ดังภาพที่ 1 

                                                            ภาพที่ 1 การทำมุมกับหยดน้ำ

         เนื่องจากในบรรยากาศหลังฝนตกมีละอองน้ำเล็กๆ ที่มองไม่เห็นแขวนลอยอยู่เป็นจำนวนมาก ละอองน้ำเล็กๆ เหล่านี้หักเหแสงอาทิตย์มาเข้าตาของเราเป็นมุมที่แตกต่างกัน  ลำแสงจากดวงอาทิตย์ที่ถูกหักเหเข้าสู่แนวสายตาเป็นมุม 40° - 42° จะปรากฏเห็นเส้นโค้งซึ่งเรียกว่า "รุ้งกินน้ำ" โดยจะมีสีจากล่างขึ้นบนเรียงลำดับ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง ดังภาพที่ 2 

ภาพที่ 2  แสงที่สายตาเรามองเห็น

            ในบางครั้งเราสามารถมองเห็นรุ้งกินน้ำสองตัวได้พร้อมๆ กัน รุ้งกินน้ำตัวแรกอยู่ด้านล่างคือ รุ้งปฐมภูมิที่รู้จักกันทั่วไปคือแถบสีแดงอยู่บนสุด แถบสีม่วงอยู่ล่างสุด   รุ้งกินน้ำตัวที่สองจะอยู่ด้านบน เรียงลำดับสีกลับกัน สีแดงไปยังสีม่วงจากข้างล่างขึ้นข้างบน ดังภาพที่ 3 

ภาพที่ 3 ภาพสีเรียงลำดับ

          รุ้งทุติยภูมิเกิดจากการหักเหแสงภายในหยดน้ำสองครั้ง โดยถ้าแสงอาทิตย์ทำมุมกับหยดน้ำแล้วหักเหเป็นมุม 52° เข้าสู่แนวสายตา ก็จะมองเห็นเป็นแสงสีม่วง  แต่ถ้าแสงอาทิตย์ทำมุมกับหยดน้ำแล้วหักเหเป็นมุม 50° เข้าสู่แนวสายตา ก็จะมองเห็นเป็นแสงสีแดง ด้วยเหตุนี้รุ้งทุติยภูมิจึงปรากฏอยู่ทางด้านบน และมีสีสลับกันกับรุ้งปฐมภูมิ ดังแผนผังที่แสดงในภาพที่ 4  


ภาพที่ 4 แผนผังแสดงการหักเหแสงของรุ้งทั้งสองชนิด


การเกิดเงา

เมื่อแสงตกกระทบวัตถุทึบแสง แสงไม่สามารถผ่านทะลุวัตถุ จึงทำให้เกิดเงาของวัตถุบนฉากทางด้านที่แสงไม่ได้ตกกระทบ เช่น คนเป็นวัตถุทึบแสง ดังนั้นเมื่อยืนอยู่กลางแสงแดดจะเกิดเงาบนพื้นของคนที่ยืนเพราะคนกั้นทาง เดินของแสง ทำให้แสงส่องไปไม่ถึงพื้น 
เงา คือ บริเวณมืดหลังวัตถุที่เกิดจากวัตถุที่เป็นตัวกลางทึบแสงมาขวางกั้นทางเดิน ของแสง แบ่งได้ 2 ชนิด คือ

1. เงามืด คือ เงาในบริเวณที่ไม่มีแสงผ่านไปถึง ทำให้บริเวณนั้นมืดสนิท
2. เงามัว คือ เงาบริเวณที่มีแสงบางส่วนผ่านไปถึง และทำให้บริเวณนั้นมืดไม่สนิท

ลักษณะการเกิดเงามืดและเงามัว

ขนาดของเงามืดและเงามัวจะขึ้นอยู่กับระยะใกล้ - ไกลของฉาก ถ้าฉากอยู่ใกล้วัตถุเงามืดจะมีขนาดใหญ่ แต่เงามัวจะมีขนาดเล็กลง ถ้าฉากอยู่ไกลจากวัตถุมากขึ้น เงามืดจะมีขนาดเล็กลงและเงามัวจะมีขนาดโตขึ้น ยกเว้นเฉพาะดวงไฟที่มีขนาดโตเท่ากับวัตถุ ซึ่งจะให้เงามืดมีขนาดโตเท่ากับขนาดของวัตถุเสมอ
เพื่อ ศึกษาการเกิดเงา ทำให้ทราบว่าเงาเกิดขึ้นได้อย่างไร โดยลองเลื่อนวัตถุทึบแสงไปมาระหว่างแหล่งกำเนิดแสงกับฉาก จะเห็นว่าเกิดเงาบนฉาก และเงาของวัตถุจะเปลี่ยนแปลงคือ เมื่อวัตถุอยู่ใกล้ฉาก เงาจะมีสีดำเข้ม เห็นขอบเงาชัดเจน แต่ถ้าวัตถุอยู่ห่างฉาก ความเข้มเงาจะลดลง เห็นขอบเงาไม่ชัดเจน ส่วนตรงกลางของเงาจะมืดกว่าส่วนขอบเราจึงสรุปเกี่ยวกับการเกิดเงาได้ว่า
- เมื่อแสงตกกระทบกับวัตถุทึบแสง แสงไม่สามารถผ่านทะลุวัตถุ จึงทำให้เกิดเงาของวัตถุ
- บริเวณที่แสงส่องไปไม่ถึง เนื่องจากวัตถุทึบแสงกั้นทางเดินของแสง ทำให้เกิดเงาขึ้น 2 แบบ

1. เงามืด = บริเวณที่แสงส่องไปไม่ถึงเลย 
2. เงามัว = บริเวณที่แสงส่องไปถึงแค่บางส่วน หรือปริมาณของแสงไม่เพียงพอ

- เงาจะเกิดขึ้นตรงข้ามกับแหล่งกำเนิดแสงเสมอ
- รูปร่างของเงาขึ้นอยู่กับวัตถุที่ทำให้เกิดเงา เช่น ถ้าวัตถุเป็นรูปทรงกลม เงาก็จะเป็นวงกลม
- วัตถุที่โปร่งแสงจะเกิดเงาที่จางกว่า วัตถุทึบแสง เช่น กระจกฝ้า หรือกระดาษลอกลายมาแทนวัตถุ ทึบแสง โดยนำวัตถุโปร่งแสงดังกล่าวมากั้นแสง เงาที่เกิดขึ้นจะจางกว่าเงาที่เกิดจากวัตถุทึบแสง
- พระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก เงาของวัตถุจะทอดไปทิศตะวันตก แสดงว่าเงาจะเกิดขึ้นตรงข้ามกับ แหล่งกำเนิดแสงเสมอ

การเกิดเงาของวัตถุ

เมื่อแสงตกกระทบวัตถุที่ทึบแสง จะเกิดเงาที่ด้านหลังวัตถุเสมอ โดยเงาที่เกิดขึ้นอาจจะมีทั้งเงามืดหรือเงามัว จะขึ้นอยู่กับ
1. ขนาดของแหล่งกำเนิดแสง
1.1 แหล่งกำเนิดแสงกว้างน้อยกว่าวัตถุ 

xxxx1.2 แหล่งกำเนิดแสงกว้างมากกว่าวัตถุ
2. ขนาดของวัตถุ
3. ระยะห่างระหว่างวัตถุกับแหล่งกำเนิดแสง
4. การเกิดเงาเมื่อแหล่งกำเนิดแสงเป็นจุด

ประโยชน์จากเงา เรานำประโยชน์จากเงามาใช้ในกิจกรรมต่างๆ

- ใช้ในแง่ให้ความบันเทิง เช่น หนังตะลุง
- ใช้ในแง่ของการให้ความร่มรื่น เช่น การปลูกต้นไม้เพื่อช่วยให้เกิดร่มเงา
- ใช้ประโยชน์อย่างอื่น เช่น การบอกเวลา โดยใช้นาฬิกาแดด
นอกจากนี้ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติบางอย่าง เช่น จันทรุปราคา สุริยุปราคา ก็ยังเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเนื่องจากเงาอีกด้วย

การเข้าเรียน ครั้งที่ 2

วันที่ 19  มิถุนายน  2556




กิจกรรมการเรียนการสอน

องค์ความรู้ที่ได้รับ

        -  ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มๆละ 6 คน แล้วทำความเข้าใจกับเนื้อหาสาระ   ดังหัวข้อต่อไปนี้
            1.  ความหมายของวิทยาศาสตร์
            2.  ความสำคัญของวิทยาศาสตร์    (หัวข้อกลุ่มที่ได้รับมอบหมาย)
            3.  พัฒนาการทางสติปัญญา
            4.  การเรียนรู้
            5.  แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
            6.  กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และผลผลิต

วิธีการทำกิจกรรมกลุ่มในครั้งนี้

            -  เมื่อได้เอกสารความรู้แล้ว ให้แต่ละกลุ่มอ่านทำความเข้าใจกับทุกหัวข้อ  และ 1 หัวข้อที่อาจารย์ผู้สอนได้มอบหมายเฉพาะให้สรุปหัวข้อนั้นๆเป็นแนวคิดของกลุ่มตัวเอง
            -   เมื่อหมดเวลาในการอ่านทำความเข้าใจกับหัวข้อต่างๆแล้ว ให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทน 1 คน  เพื่อไปสำรวจความคิดเห็นของเพื่อนกลุ่มอื่นในหัวข้อที่กลุ่มตนเองได้รับมอบหมาย และจดบันทึก
            -   เมื่อรับฟังความคิดเห็นของกลุ่มอื่นๆแล้ว  ให้รวบรวมข้อมูลทั้งหมดที่ได้ แล้ววิเคราะห์ความเหมือนและความต่างของแนวคิดแต่ละกลุ่ม  โดยใช้เทคนิคการนำเสนอข้อมูล แล้วส่งตัวแทน 1 คนออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน
    

ทักษะที่ได้รับ

        1.   การทำงานกลุ่มอย่างเป็นระบบ
        2.   เทคนิกการนำเสนอข้อมูลอย่างถูกต้อง

การนำไปประยุกต์ใช้

         1.  การรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนร่วมงาน
         2.  การเลือกใช้เทคนิคหรือวิธีการนำเสนอข้อมูลที่เหมาะสม
         3.  การจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับเด็กและถูกต้อง



วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การเข้าเรียนครั้งที่ 1

วันที่ 12 มิถุนายน 2556

กิจกรรมการเรียนการสอน

องค์ความรู้ที่ได้รับในวันนี้


        1. การปฐมนิเทศน์   ชี้แจงแนวการสอนและเนื้อหาสาระที่ต้องศึกษาในรายวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 

        2.  อาจารย์ผู้สอนกับนักศึกษาร่วมสร้างข้อตกลงในการเรียนในรายวิชานี้
        3.  อาจารย์ผู้สอนชี้แจงเรื่อง การสร้างบล็อกเพื่อเป็นแฟ้มสะสมผลงานอิเล็กทรอนิกส์ในการเรียนในรายวิชานี้


เครื่องมือที่ทำให้มนุษย์เกิดการเรียนรู้ 
     -  ภาษา
     -  คณิตศาสตร์


ผลลัพธ์การเรียนรู้

        1.  คุณธรรม จริยธรรม
        2.  ความรู้
        3.  ทักษะทางปัญญา
        4.  ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
        5.  ทักษะการคิดเชิงตัวเลข การสื่อสาร  และการใช้เคโนโลยีสารสนเทศ
        6.  การจัดการเรียนรู้

** การที่จะจัดการเรียนการสอนได้นั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสอดคล้องกับ                                
              ผลลัพธ์การเรียนรู้ (ความคาดหวัง) **


ทักษะที่ได้รับ
         การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดทำแฟ้มสะสมผลงานอิเล็กทรอนิกส์

การนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้
        1.   การออกแบบการเรียนการอนเด็กปฐมวัยให้ถูกต้องและสมบูรณ์
        2.   การทำแฟ้มสะสมผลงานอิล็กทรอนิกส์ให้ทันสมัยและน่าสนใจ