การเข้าเรียน ครั้งที่ 4
วันที่ 3 กรกฎคม 2556
กิจกรรมการเรียนการสอน
องค์ความรู้ที่ได้รับ
- อาจารย์ให้นักศึกษาทับทวนเนื้อหา สัปดาห์ที่แล้ว เรื่องแสงและเงา จากนั้นก็เปิดวีดีโอ เรื่อง ความมหัศจรรย์ของน้ำให้นักศึกษาดู แล้วสรุปองค์ความรู้
ก่อนอื่นเราต้องมาทราบก่อนว่าวัตถุทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่ข้าง ๆ รอบตัวเรานี้ ล้วนแล้วแต่เป็นสสารทั้งสิ้น สสาร (Matter) คือ สิ่งที่มีตัวตน มีมวล และต้องการที่อยู่ สามารถสัมผัสได้โดยประสาทสัมผัสทั้ง 5 แต่ยังทราบสมบัติที่ไม่แน่นอน เช่น ดิน น้ำ อากาศ ฯลฯ ภายในสสารหรือเนื้อของสสาร เรียกว่า “สาร (substance)” ส่วน สาร (substance) คือ สสารที่ทราบสมบัติแน่นอน เช่น เงิน ทอง เหล็ก ฯลฯ ซึ่งสสาร สามารถแบ่งออกตามสถานะได้เป็น 3 ประเภท คือ ของแข็ง (solid) ของเหลว (liquid) และก๊าซ (gas)
ภาพที่ 1 แสดงประเภทของสสารตามสถานะ
สำหรับน้ำนั้นจัดเป็นสารประกอบเคมีตัวหนึ่ง ที่มีสูตรเคมี คือ H2O และ 1 โมเลกุลของน้ำจะประกอบไปด้วย ไฮโดรเจน (hydrogen, H) 2 อะตอม และ ออกซิเจน (oxygen, O) 1 อะตอม ที่เชื่อมกันด้วยพันธะโควาเลนต์ (covalent bond) ดังรูปข้างล่าง น้ำเป็นของเหลวที่อุณหภูมิและความดันมาตรฐาน (SATP, Standard conditions for temperature and pressure) แต่พบบนโลกที่สถานะของแข็ง (น้ำแข็ง) และสถานะแก๊ส (ไอน้ำ) อีกด้วย
Note: อะตอม (atom) คือ หน่วยพื้นฐานของสสาร ประกอบด้วยส่วนของนิวเคลียส (nucleus) ที่หนาแน่นมากอยู่ตรงศูนย์กลาง ล้อมรอบด้วยกลุ่มหมอกของอิเล็กตรอน (electron) ที่มีประจุลบ นิวเคลียสของอะตอมประกอบด้วยโปรตอน (proton) ที่มีประจุบวกกับนิวตรอน (nutron) ซึ่งเป็นกลางทางไฟฟ้า
โมเลกุล (molecule) เกิดจากอะตอมของธาตุหลายชนิดมาเกิดพันธะเคมีกันกลายเป็นสารประกอบชนิดต่าง ๆ ซึ่งสามารถดำรงอยู่ได้ตามลำพังและยังคงความเป็นสารดังกล่าวไว้ได้
พันธะโควาเลนต์ (covalent bond) จัดเป็นพันธะเคมีภายในโมเลกุลชนิดหนึ่ง (intramolecular bond) ที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากอะตอม 2 อะตอมนำอิเล็กตรอนมาใช้ร่วมกัน โดยทั่วไปแล้วจะเป็นอะตอมของธาตุหมู่ IVA, VA, VIA และ VII ตามตารางธาตุ [2] (คลิกที่นี่ เพื่อดูตารางธาตุ)
ภาพที่ 2 แสดงคุณสมบัติของน้ำ
ลักษณะโมเลกุลของน้ำจะมีลักษณะโค้งงอ ประมาณ 104.5 องศา ซึ่งลักษณะดังกล่าวทำให้น้ำเป็นสารที่มีความเป็นขั้วสูง จึงจัดเป็นตัวทำละลายมีขั้วชนิดหนึ่ง (polar protic solvent) สำหรับสารที่สามารถละลายกับน้ำได้ดี เช่น เกลือ น้ำตาล สารละลายกรด-เบส แก๊สบางชนิด จะถูกเรียกว่า “ไฮโดรฟิลิก (hydrophilic)” และในทางตรงกันข้ามสารที่ไม่สามารถละลายเข้ากันกับน้ำได้ เนื่องจากสารนั้นไม่มีความเป็นขั้ว เช่น น้ำมัน ไขมัน เป็นต้น จะถูกเรียกว่า “ไฮโดรโฟบิก (hydrophobic)” ซึ่งเราอาจใช้กฏที่ว่า like dissolves like
ภาพที่ 3 แสดงถึงตัวอย่างของกฏ like dissolved like
“ตัวถูกละลาย (solute) ที่มีขั้วจะละลายในตัวทำละลาย (solvent) ที่มีขั้ว แต่จะไม่ละลายในตัวทำละลายที่ไม่มีขั้ว เช่น เอทานอล (CH3CH2OH) ละลายในน้ำ (H2O) แต่ไม่ละลายในเฮกเซน (C6H14) ในทางตรงข้าม ตัวถูกละลายที่ไม่มีขั้วจะละลายในตัวทำละลายที่ไม่มีขั้ว แต่จะไม่ละลายในตัวทำละลายที่มีขั้ว เช่น คาร์บอนเตตระคลอไรด์ (CCl4) ละลายในเบนซีน (C6H6) ไม่ละลายในน้ำ แต่ถ้าในกรณีที่สารหนึ่งมีขั้วน้อยกว่าอีกสารตัวหนึ่ง ความสามารถในการละลายก็ลดลง หรืออาจจะกล่าวอีกนัยคือละลายได้เพียงบางส่วนเท่านั้น” [3] มาช่วยในการพิจารณา
วิดีโอแสดงโมเลกุลของน้ำ แบบ 3D (ball-stick)
สรุปองค์ความรู้ที่ได้
อาจารย์ให้ดู vdo ของ ความมหัศจรรย์ของน้ำ หลังจากนั้นก็ให้นักศึกษาสรุปความรู้ที่ได้จากเรื่องนี้ส่งในช่วงโมง มีหัวข้อดังนี้
- ความมหัศจรรย์ของน้ำ
- แรงผลักดัน
- การเกิดฝน
- สถานะของน้ำ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น