วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากบทความ

การสอนเรื่องปรากฏการณ์ธรรมชาติมีประโยชน์ต่อเด็กปฐมวัยอย่างไร
ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติเป็นสาระที่ควรรู้สำหรับเด็กปฐมวัย จัดอยู่ในสาระทางด้านวิทยาศาสตร์ที่มีความเหมาะสมในการนำมาจัดให้เด็กได้เรียนรู้ เพื่อให้เด็กได้ประโยชน์ ดังนี้
การเรียนรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติช่วยฝึกฝนทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์ให้กับเด็ก เช่น
- ทักษะการสังเกต
- ทักษะการจำแนกเปรียบเทียบ
- ทักษะการรับฟัง
- ทักษะความตั้งใจ
- ทักษะการค้นพบ
- ทักษะการสรุปข้อมูล
- ทักษะการอธิบาย
- ทักษะการปฏิบัติ
ทำให้เด็กได้พัฒนาและสร้างความคิดรวบยอดในสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ เป็นคนที่มีความสามารถในการคิดแบบวิทยาศาสตร์ ไม่เชื่อสิ่งใดง่ายๆ ทุกอย่างที่ต้องการรู้จะเกิดจากการลงมือกระทำและพิสูจน์ให้เห็นในเชิงประจักษ์ โดยเฉพาะการคิดแบบวิทยาศาสตร์ที่เริ่มต้นจาก
- การศึกษาปัญหา
- การตั้งสมมติฐาน
- การเก็บรวบรวมข้อมูล
- การวิเคราะห์เพื่อหาข้อสรุป
- การนำข้อมูลไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
 ทำให้เด็กมีเหตุผลในการกระทำสิ่งต่างๆ และสามารถใช้ทักษะทางวิทยาศาสตร์ในการแก้ปัญหาทั้งในส่วนตนและส่วนรวมได้ เช่น การจัดกิจกรรมที่ทำให้เด็กมีความเข้าใจและมีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการเกิดรุ้งกินน้ำจากการเป่าฟองสบู่ การเกิดฝนจากการต้มน้ำ การต้มไข่ การซักผ้าและนำไปผึ่งแดด การเกิดกลางวัน กลางคืนจากการส่องแสงจากไฟฉายให้ไปกระทบกับพื้นผิวของลูกบอล เป็นต้น ซึ่งลักษณะการทดลองการเกิดปรากฏการณ์ง่ายๆดังกล่าว ทำให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจและมีความคิดรวบยอดได้ และที่สำคัญเป็นการเรียนรู้ที่ผ่านประสบการณ์ตรง เด็กได้ลงมือปฏิบัติและค้นพบองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง
สรุปวิจัย

เรื่อง ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทาศาสตร์นอกชั้นเรียน

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
 1. แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในการกิจกรรมวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
 2. แบบทดสอบในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย

ความมุ่งหมายของวิจัย
 1.  เพื่อศึกษาระดับความสามารถการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวน   การทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
 2.  เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน

การนำผลวิจัยไปใช้
 1. การจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนมีหลายขั้นตอน ดังนั้นควรพิจารณาองค์ประกอบของกิจกรรมที่เหมาะสมสำหรับการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยนแต่ละวัย
 2. ในการจัดกิจกรรมต่างๆ ควรจัดกิจกรรมการเรียนรู้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนอย่างหลากหลาย เช่น การปฏิบัติ การทดลอง การเล่นเกม การสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะ การสำรวจ การสนทนาซักถาม อภิปราย ให้ควบคุมตามหัวข้อองค์ประกอบของกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนที่เหมาะสมกับการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย
3. ครูควรมีบทบาทนาการเตรียมความพร้อมเด็กและกระตุ้นการทำกิจกรรมต่างๆ โดยให้เด็กมีความกระตือรือร้น เกิดทักษะด้านต่างๆ และสังเกตการทำงานของเด็กจากการตอบคำถามการแสดงความคิดเห็นและพร้อมที่เรียนรู้ไปพร้อมๆกับเด็ก

สรุปผลการวิจัย
การจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทาศาสตร์นอกห้องเรียนเป็นการจัดประสบการณ์ือีกทางหนึ่งที่สามารถพัฒนากระบวนการคิดของเด็กปฐมวัยในด้านสติปัญญา เด็กจะได้รับประสบการณ์ตรงเกิดการเรีบนรู้ที่หลากหลาย ส่งเสริมห้เด็กได้เรียนรู้โดยลงมือปฏิบัติได้ด้วยตนเอง

ความรู้ที่ได้จากโทรทัศน์ครู

เรื่องของเล่นและของใช้

ชื่อ-นามสกุลผู้วิเคราะห์  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทิพพดี อ่องแสงคุณ

จุดเด่น
เป็นการสอนในระดับอนุบาลเพื่อฝึกให้นักเรียนรู้จักของใช้และของเล่น มีของจริงให้นักเรียนได้ดู แล้วจัดของลงในตระกร้าของเล่นและตระกร้าของจริง มีการใช้กลองตีบอกจังหวะการกระโดด และสร้างแรงจูงใจให้นักเรียนโดยใช้การเล่านิทานและมีตุ๊กตาประกอบ นักเรียนจะสนใจฟังนิทานมาก นักเรียนรู้จัการสังเกตของเล่นและของใช้ ถ้าใครทำไม่ได้ ครูจะถามว่ามีใครจะช่วยบ้างไหม เป็นการฝึกให้นักเรียนมีน้ำใจ รู้จักช่วยเหลือเพื่อนๆ ถ้าใครทำได้ก็จะปรบมือชม นอกจากนี้ครูยังใช้งานประดิษฐ์ คือ ม้วนกระดาษติดกับไม้ เพื่อฝึกกล้ามเนื้อนิ้วมือ ช่วยฝึกสมาธิและพัฒนาการของเด็กด้วย

การประยุกต์ใช่ให้เหมาะสม
สามารถนำวิธีการดังกล่าวข้างต้นมาปรับประยุกต์ใช้ในการฝึกการเรียนรู้เรื่องของเล่นและของใช้ให้แก่นักเรียน รวมทั้งการเล่านิทานก็เป็นวิธีการที่เหมาะกับนักเรียนระดับอนุบาลอย่างยิ่ง

เงื่อนไขสำคัญที่จะนำไปใช้
ครูมีทักษะทางด้านดนตรี และงานประดิษฐ์ สามารถนำมาถ่ายทอดให้แก่นักเรียนได้

เรื่องสภาพแวดล้อมกลางแจ้ง

จุดเด่น
วีซีดีตอนนี้กล่าวถึงการสอนเด็กปฐมวัย ให้เรียนรู้พัฒนาการด้านต่าง ๆ เช่น ด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม ด้วยการออกไปเรียนรู้ที่สนามหญ้านอกห้องเรียน
จุดเด่น ของรายการจึงอยู่ที่การสอนเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียน 
ช่วงที่ 1 ของรายการครูจัดเตรียมอุปกรณ์มากมายหลายอย่างไว้สร้างเป็นฉากหรืออุปกรณ์ประกอบฉากให้นักเรียนที่สนามหญ้าหน้าโรงเรียน จากนั้นครูเตรียมความพร้อมให้ผู้เรียนก่อนออกนอกห้องเรียน ด้วยการเปิดนิทานจากเทปคาสเซ็ตให้ผู้เรียนฟัง จากนั้นให้ผู้เรียนแต่งตัวด้วยการสวมรองเท้าบู๊ตสวมถุงมือ และสวมเสื้อหนาว เนื่องจากอากาศข้างนอกหนาวมาก
ช่วงที่ 2 ครูพาผู้เรียนไปที่เดินทางผจญภัยในสนามหน้าโรงเรียนโดยเปรียบเทียบอุปกรณ์ต่าง ๆ ในสนามกับเหตุการณ์ในนิทาน แล้วให้ผู้เรียนเดินทางโดยใช้อุปกรณ์ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ เต็นท์ ผ้า บันไดไม้ ฯลฯ จากนั้นให้ผู้เรียนช่วยกันนำโครงพลาสติกที่สร้างชั้นวางแบบมีผ้าคลุมแบบง่าย ๆผู้เรียนได้ฝึกใช้ค้อนขนาดเล็กตอกไม้ลงบนดิน เมื่อทำเสร็จครูให้ผู้เรียนหาทางเข้าบ้านจำลองด้วยการนำแผ่นหินที่มีเลข 1-6 มาวางเรียงกันเพื่อทอดเป็นทางเดินเข้าบ้าน ผู้เรียนเรียงแผ่นหินจนเดินเข้าบ้านได้สำเร็จ


การประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในวีซีดีตอนนี้ ครูสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย ซึ่งการเรียนรู้โลกภายนอกห้องเรียนเป็นสิ่งที่จำเป็นและช่วยกระตุ้นพัฒนาการได้ดีมากขึ้นกว่าการเรียนในห้องเรียนเท่านั้น 
กิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียนของผู้เรียนระดับปฐมวัยในครั้งนี้ทำให้ผู้เรียนสนุกสนานและมีผลดีต่อการส่งเสริมพัฒนาการของผู้เรียนทั้ง 4 ด้าน การพัฒนาการด้านร่างกายนั้น เช่น ขณะเดินขึ้นเดินลงโต๊ะสนามได้พัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ ขณะตอกไม้ลงบนดินได้พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก การพัฒนาการด้านสติปัญญา เช่น การคิดหาทางนำหินมาเรียงกันเพื่อทำเป็นทางเดินเข้าบ้านจำลอง การพัฒนาการด้านอารมณ์ เช่น ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมนอกห้องเรียนอย่างสนุกสนานทำให้อารมณ์แจ่มใสร่าเริง การพัฒนาการด้านสังคม เช่น ผู้เรียนได้ร่วมกันสร้างโครงพลาสติก ฯลฯ ครูระดับปฐมวัยสามารถประยุกต์ใช้กิจกรรมนี้กับนักเรียนระดับปฐมวัยได้โดยใช้สนามหญ้าหน้าหรือหลังโรงเรียน และใช้อุปกรณ์ที่มีอยู่ในโรงเรียนมาสร้างเป็นฉากให้ผู้เรียนเดินตามเนื้อเรื่องในนิทาน


ข้อควรระวังในการนำไปใช้
การนำตัวอย่างการจัดการเรียนการสอนเด็กปฐมวัย ด้วยการพาไปเรียนรู้นอกห้องเรียน มีข้อพึงระวังคือ ควรเลือกสถานที่ภายนอกที่มีหญ้าอ่อนนุ่มพอสำหรับเด็ก เผื่อเด็กหกล้มระหว่างปฏิบัติกิจกรรมจะได้ไม่ได้รับอันตรายใด ๆ และควรเลือกสถานที่ในร่ม แดดไม่ควรร้อนมากเกินไป หรือฝนตกหนักเกินไป ระวังอุปกรณ์ประกอบฉากที่อาจเป็นอันตรายต่อเด็กเล็ก และอุปกรณ์ควรสอดคล้องกับฉากและสอดคล้องกับการกระตุ้นพัฒนาการทั้ง 4 ด้านของผู้เรียน และควรฝึกวินัยผู้เรียนให้ปฏิบัติกิจกรรมตามลำดับขั้นที่ครูกำหนดให้ ไม่ใช่วิ่งเล่นไปทั่วสนามหญ้า หรือรื้อค้นอุปกรณ์จนยุ่งเหยิงไปหมด

วันอังคารที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2556


การเข้าเรียนครั้งที่ 18 เรียนชดเชย
วันที่ 29  กันยายน  2556

กิจกรรมการเรียนการสอน

องค์ความรู้ทีได้รับ

     - นำเสนอการทดลอง 
     - ส่งชิ้นงานทุกชิ้น  ได้แก่
       1.  สื่อเข้ามุมวิทยาศาสตร์
       2.  ของเล่นวิทยาศาสตร์


                           
            นำเสนอการทดลองวิทยาศาสตร์  "ทำอย่างไรไม่ให้มีน้ำตาเทียน"







วัสดุอุปกรณ์
  1. เทียน 2 เล่ม
  2. น้ำ
  3. เกลือ
  4. ไฟเช็ก
                     วิธีทำ
  1. นำเทียนเล่มที่ 1 มาทาน้ำที่ผสมกับเกลือ
  2. จากนั้นก็เอาเทียนทั้งสองเล่ม มาจุดไฟพร้อมๆกันแล้วให้เด็กสังเกตว่าเล่มไหนมีน้ำตาเทียน เล่มไหนไม่มี
               ประโยชน์ที่ได้
  1. เด็กได้นำความรู้ที่ใช้ ไปใช่ในชีวิตประจำวัน
  2. เด็กได้รู้ว่าเทียนที่เห็นทำมาจากอะไร
จิ๊กซอว์ หรรษา



วัสดุอุปกรณ์
1. ภาพวัฏจักรของกบ
2. กระดาษหลังรูป หรือกระดาษแข็ง
3. สีไม้
4. ไม้บรรทัดเหล็ก
5. คัตเตอร์คมๆ
6. แผ่นรองตัด
7. ดินสอ

วิธีทำ
อุปกรณ์พร้อม กายพร้อม ใจพร้อม มาเริ่มกันเลย
1.วางภาพถ่ายเป็นแบบ วาดรูปลงในกระดาษแข็งที่เราตัดเป็นวงกลม ระบายสีให้สวยตามใจชอบ
2.เมื่อระบายสีเสร็จแล้ว ให้นำคัดเตอร์ มาตัดแผ่นกระดาษที่เราวาดวัฏจักรของกบเป็นส่วนๆ
 3. เจาะช่องตามขอบรูป นำกรอบที่ได้มาติดเข้ากับกระดาษที่ตัดเตรียมไว้อีกชิ้นหนึ่ง
 4.วาดเส้นลงบนด้านหลังของรูปที่ผนึกลงบนกระดาษขั้นตอนนี้อาจให้เด็กๆ ช่วยวาดก็ได้
 5.ตัดตามรอยที่วาดไว้ ด้วยคัตเตอร์คมๆจะได้จิกซอว์ที่มีชิ้นเดียวในโลก ฝีมือเราเอง

ประโยชน์ที่ได้รับ
1.             เด็กได้เรียนรู้วัฏจักรของกบ เป็นอย่างไร
2.             เด็กได้ฝึกสมาธิในการต่อจิ๊กซอว์
3.             นอกจากครูจะวาดรูปเพื่อที่จะทำจิ๊กซอว์เปลี่ยนให้เด็กวาดเองฝึกจินตนาการของเด็ก

บันไดเห็ด

               วัสดุอุปกรณ์
1.กระดาษแข็ง
2.ยางลบ
3. สีไม้
4. ไม้บรรทัดเหล็ก
5. คัตเตอร์คมๆ
6. แผ่นรองตัด
7. ดินสอ
8. แผ่นเคลือบ

วิธีทำ
1.             ตัดกระดาษแข็งเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส
2.             ตีตารางลงกระดาษแข็งเป็นช่องๆ ทั้งหมด 42 ช่อง วาดรูปเห็ดต่างๆในแต่ละช่อง
3.             ระบายสีให้สวยงาม
4.             เคลือบแผ่นใส เพื่อเก็บรักษาไว้ได้นาน

ประโยชน์ที่ได้รับ
1.             เด็กรู้จักเห็ดแต่ละชนิด ว่าเห็ดไหนทานได้ เห็ดไหนมีพิษ
2.             เด็กได้ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน
3.             เด็กมีความรู้รอบตัวเกี่ยวกับเด็ก







วันศุกร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556




การเข้าเรียนครั้งที่ 16
วันที่  18  กันยายน  2556


กิจกรรมการเรียนการสอน

องค์ความรู้ที่ได้รับ

         วันนี้เป็นการลงมือปฏิบัติจริงในการทำไข่ตุ๋น กิจกรรม cooking หลังจากที่ได้เขียนแผนการจัดประสบการณ์ไปแล้ว  เมื่อวันที่  15  กันยายน  2556

ขั้นตอนการจัดประสบการณ์ cooking .. ไข่ตุ๋นแฟนซี

  1.  ครูจัดเด็กนั่งเป็นครึ่งวงกลม  แล้วนำอุปกรณ์ที่จะทำกิจกรรม cooking ในวันนี้วางไว้ข้างหน้า 
  2.  ครูเสริมแรงเด็กโดยการใช้คำถาม  เช่น
          "เด็กๆค่ะ ลองทายสิค่ะว่าวันนี้คุณครูจะทำอะไรให้เด็กๆทานกัน??"
          "เด็กๆเห็นอะไร ด้านหน้าของคุณครูบ้างค่ะ"
          " วันนี้คุณครูจะทำไข่ตุ๋น เด็กเคยทานไข่ตุ๋นไหมค่ะ  ไข่ตุ๋นเป็นยังไง เด็กคนเก่งคนไหนจะมาช่วยคุณครูทำบ้างค่ะยกมือขึ้นค่ะ "



  3.  ครูเริ่มแนะนำอุปกรณ์ ถาม - ตอบกับ เด็กๆ เป็นระยะๆ



    4.  ครูให้เด็กอาสาสมัครออกมาหั่นผัก  ได้แก่  ผักชี  ต้นหอม และแครอท


   5.  คุณครูให้เด็กๆ ทำไข่ตุ๋นไปพร้อมๆกัน โดยการใส่ผักชี แครท ต้นหอม เอง



    6.   นำถ้วยไข่ตุ๋นใส่ในหม้อนึ่ง รอประมาณ 15-20 นาที   ระหว่างการรอไข่ตุ๋นสุกนั้นครูและเด็กๆร่วมกันสนทนาถึงการทำไข่ตุ๋นครั้งนี้




   7.   เมื่อไข่ตุ๋นเสร็จแล้ว ก็นำไปให้เด็กๆทาน บอกเด็กๆว่าวันนี้กลับไปทำให้คุณพ่อ กับคุณแม่ทานน่ะค่ะ



ทักษะที่ได้รับ
        
     1.   ทักษะเด็กสามารถเรียนรู้วิธีการทำอาหารด้วยตนเอง
     2.   ทักษะการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ว่าต้องนึ่งไข่ตุ๋น กี่นาที ถึงจะสำเร็จ
     3.   ทักษะการใช้กล้ามเนื้อมือมัดเล็กในการตีไข่

การนำไปประยุกต์ใช้

    1.   การจัดกิจกรรม cooking ให้กับเด็กปฐมวัย
    2.   การกิจกรรมที่ทำในวันนี้ไปใช่ในชีวิตประจำวันและประกอบอาชีพในอนาตต


การเข้าเรียนครั้งที่ 15 

วันที่ 15 กันยายน 2556

หมายเหตุ
                          วันนี้มีเรียนชดเชยแต่ดิฉันไม่ค่อยสบายเลยไม่ได้ไปเรียนค่ะ







การเข้าเรียนครั้งที่ 14

วันที่  11   กันยายน 2556



กิจกรรมการเรียน  การสอน

    *ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากผู้สอนติดภาระกิจทางราชการต่างจังหวัด*

หมายเหตุ
              
  *ได้มอบหมายให้เตรียมเอกสารที่ไปศึกษาดูงานมาแล้วให้เรียบร้อย*