วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากบทความ

การสอนเรื่องปรากฏการณ์ธรรมชาติมีประโยชน์ต่อเด็กปฐมวัยอย่างไร
ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติเป็นสาระที่ควรรู้สำหรับเด็กปฐมวัย จัดอยู่ในสาระทางด้านวิทยาศาสตร์ที่มีความเหมาะสมในการนำมาจัดให้เด็กได้เรียนรู้ เพื่อให้เด็กได้ประโยชน์ ดังนี้
การเรียนรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติช่วยฝึกฝนทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์ให้กับเด็ก เช่น
- ทักษะการสังเกต
- ทักษะการจำแนกเปรียบเทียบ
- ทักษะการรับฟัง
- ทักษะความตั้งใจ
- ทักษะการค้นพบ
- ทักษะการสรุปข้อมูล
- ทักษะการอธิบาย
- ทักษะการปฏิบัติ
ทำให้เด็กได้พัฒนาและสร้างความคิดรวบยอดในสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ เป็นคนที่มีความสามารถในการคิดแบบวิทยาศาสตร์ ไม่เชื่อสิ่งใดง่ายๆ ทุกอย่างที่ต้องการรู้จะเกิดจากการลงมือกระทำและพิสูจน์ให้เห็นในเชิงประจักษ์ โดยเฉพาะการคิดแบบวิทยาศาสตร์ที่เริ่มต้นจาก
- การศึกษาปัญหา
- การตั้งสมมติฐาน
- การเก็บรวบรวมข้อมูล
- การวิเคราะห์เพื่อหาข้อสรุป
- การนำข้อมูลไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
 ทำให้เด็กมีเหตุผลในการกระทำสิ่งต่างๆ และสามารถใช้ทักษะทางวิทยาศาสตร์ในการแก้ปัญหาทั้งในส่วนตนและส่วนรวมได้ เช่น การจัดกิจกรรมที่ทำให้เด็กมีความเข้าใจและมีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการเกิดรุ้งกินน้ำจากการเป่าฟองสบู่ การเกิดฝนจากการต้มน้ำ การต้มไข่ การซักผ้าและนำไปผึ่งแดด การเกิดกลางวัน กลางคืนจากการส่องแสงจากไฟฉายให้ไปกระทบกับพื้นผิวของลูกบอล เป็นต้น ซึ่งลักษณะการทดลองการเกิดปรากฏการณ์ง่ายๆดังกล่าว ทำให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจและมีความคิดรวบยอดได้ และที่สำคัญเป็นการเรียนรู้ที่ผ่านประสบการณ์ตรง เด็กได้ลงมือปฏิบัติและค้นพบองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง
สรุปวิจัย

เรื่อง ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทาศาสตร์นอกชั้นเรียน

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
 1. แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในการกิจกรรมวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
 2. แบบทดสอบในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย

ความมุ่งหมายของวิจัย
 1.  เพื่อศึกษาระดับความสามารถการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวน   การทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
 2.  เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน

การนำผลวิจัยไปใช้
 1. การจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนมีหลายขั้นตอน ดังนั้นควรพิจารณาองค์ประกอบของกิจกรรมที่เหมาะสมสำหรับการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยนแต่ละวัย
 2. ในการจัดกิจกรรมต่างๆ ควรจัดกิจกรรมการเรียนรู้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนอย่างหลากหลาย เช่น การปฏิบัติ การทดลอง การเล่นเกม การสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะ การสำรวจ การสนทนาซักถาม อภิปราย ให้ควบคุมตามหัวข้อองค์ประกอบของกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนที่เหมาะสมกับการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย
3. ครูควรมีบทบาทนาการเตรียมความพร้อมเด็กและกระตุ้นการทำกิจกรรมต่างๆ โดยให้เด็กมีความกระตือรือร้น เกิดทักษะด้านต่างๆ และสังเกตการทำงานของเด็กจากการตอบคำถามการแสดงความคิดเห็นและพร้อมที่เรียนรู้ไปพร้อมๆกับเด็ก

สรุปผลการวิจัย
การจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทาศาสตร์นอกห้องเรียนเป็นการจัดประสบการณ์ือีกทางหนึ่งที่สามารถพัฒนากระบวนการคิดของเด็กปฐมวัยในด้านสติปัญญา เด็กจะได้รับประสบการณ์ตรงเกิดการเรีบนรู้ที่หลากหลาย ส่งเสริมห้เด็กได้เรียนรู้โดยลงมือปฏิบัติได้ด้วยตนเอง

ความรู้ที่ได้จากโทรทัศน์ครู

เรื่องของเล่นและของใช้

ชื่อ-นามสกุลผู้วิเคราะห์  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทิพพดี อ่องแสงคุณ

จุดเด่น
เป็นการสอนในระดับอนุบาลเพื่อฝึกให้นักเรียนรู้จักของใช้และของเล่น มีของจริงให้นักเรียนได้ดู แล้วจัดของลงในตระกร้าของเล่นและตระกร้าของจริง มีการใช้กลองตีบอกจังหวะการกระโดด และสร้างแรงจูงใจให้นักเรียนโดยใช้การเล่านิทานและมีตุ๊กตาประกอบ นักเรียนจะสนใจฟังนิทานมาก นักเรียนรู้จัการสังเกตของเล่นและของใช้ ถ้าใครทำไม่ได้ ครูจะถามว่ามีใครจะช่วยบ้างไหม เป็นการฝึกให้นักเรียนมีน้ำใจ รู้จักช่วยเหลือเพื่อนๆ ถ้าใครทำได้ก็จะปรบมือชม นอกจากนี้ครูยังใช้งานประดิษฐ์ คือ ม้วนกระดาษติดกับไม้ เพื่อฝึกกล้ามเนื้อนิ้วมือ ช่วยฝึกสมาธิและพัฒนาการของเด็กด้วย

การประยุกต์ใช่ให้เหมาะสม
สามารถนำวิธีการดังกล่าวข้างต้นมาปรับประยุกต์ใช้ในการฝึกการเรียนรู้เรื่องของเล่นและของใช้ให้แก่นักเรียน รวมทั้งการเล่านิทานก็เป็นวิธีการที่เหมาะกับนักเรียนระดับอนุบาลอย่างยิ่ง

เงื่อนไขสำคัญที่จะนำไปใช้
ครูมีทักษะทางด้านดนตรี และงานประดิษฐ์ สามารถนำมาถ่ายทอดให้แก่นักเรียนได้

เรื่องสภาพแวดล้อมกลางแจ้ง

จุดเด่น
วีซีดีตอนนี้กล่าวถึงการสอนเด็กปฐมวัย ให้เรียนรู้พัฒนาการด้านต่าง ๆ เช่น ด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม ด้วยการออกไปเรียนรู้ที่สนามหญ้านอกห้องเรียน
จุดเด่น ของรายการจึงอยู่ที่การสอนเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียน 
ช่วงที่ 1 ของรายการครูจัดเตรียมอุปกรณ์มากมายหลายอย่างไว้สร้างเป็นฉากหรืออุปกรณ์ประกอบฉากให้นักเรียนที่สนามหญ้าหน้าโรงเรียน จากนั้นครูเตรียมความพร้อมให้ผู้เรียนก่อนออกนอกห้องเรียน ด้วยการเปิดนิทานจากเทปคาสเซ็ตให้ผู้เรียนฟัง จากนั้นให้ผู้เรียนแต่งตัวด้วยการสวมรองเท้าบู๊ตสวมถุงมือ และสวมเสื้อหนาว เนื่องจากอากาศข้างนอกหนาวมาก
ช่วงที่ 2 ครูพาผู้เรียนไปที่เดินทางผจญภัยในสนามหน้าโรงเรียนโดยเปรียบเทียบอุปกรณ์ต่าง ๆ ในสนามกับเหตุการณ์ในนิทาน แล้วให้ผู้เรียนเดินทางโดยใช้อุปกรณ์ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ เต็นท์ ผ้า บันไดไม้ ฯลฯ จากนั้นให้ผู้เรียนช่วยกันนำโครงพลาสติกที่สร้างชั้นวางแบบมีผ้าคลุมแบบง่าย ๆผู้เรียนได้ฝึกใช้ค้อนขนาดเล็กตอกไม้ลงบนดิน เมื่อทำเสร็จครูให้ผู้เรียนหาทางเข้าบ้านจำลองด้วยการนำแผ่นหินที่มีเลข 1-6 มาวางเรียงกันเพื่อทอดเป็นทางเดินเข้าบ้าน ผู้เรียนเรียงแผ่นหินจนเดินเข้าบ้านได้สำเร็จ


การประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในวีซีดีตอนนี้ ครูสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย ซึ่งการเรียนรู้โลกภายนอกห้องเรียนเป็นสิ่งที่จำเป็นและช่วยกระตุ้นพัฒนาการได้ดีมากขึ้นกว่าการเรียนในห้องเรียนเท่านั้น 
กิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียนของผู้เรียนระดับปฐมวัยในครั้งนี้ทำให้ผู้เรียนสนุกสนานและมีผลดีต่อการส่งเสริมพัฒนาการของผู้เรียนทั้ง 4 ด้าน การพัฒนาการด้านร่างกายนั้น เช่น ขณะเดินขึ้นเดินลงโต๊ะสนามได้พัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ ขณะตอกไม้ลงบนดินได้พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก การพัฒนาการด้านสติปัญญา เช่น การคิดหาทางนำหินมาเรียงกันเพื่อทำเป็นทางเดินเข้าบ้านจำลอง การพัฒนาการด้านอารมณ์ เช่น ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมนอกห้องเรียนอย่างสนุกสนานทำให้อารมณ์แจ่มใสร่าเริง การพัฒนาการด้านสังคม เช่น ผู้เรียนได้ร่วมกันสร้างโครงพลาสติก ฯลฯ ครูระดับปฐมวัยสามารถประยุกต์ใช้กิจกรรมนี้กับนักเรียนระดับปฐมวัยได้โดยใช้สนามหญ้าหน้าหรือหลังโรงเรียน และใช้อุปกรณ์ที่มีอยู่ในโรงเรียนมาสร้างเป็นฉากให้ผู้เรียนเดินตามเนื้อเรื่องในนิทาน


ข้อควรระวังในการนำไปใช้
การนำตัวอย่างการจัดการเรียนการสอนเด็กปฐมวัย ด้วยการพาไปเรียนรู้นอกห้องเรียน มีข้อพึงระวังคือ ควรเลือกสถานที่ภายนอกที่มีหญ้าอ่อนนุ่มพอสำหรับเด็ก เผื่อเด็กหกล้มระหว่างปฏิบัติกิจกรรมจะได้ไม่ได้รับอันตรายใด ๆ และควรเลือกสถานที่ในร่ม แดดไม่ควรร้อนมากเกินไป หรือฝนตกหนักเกินไป ระวังอุปกรณ์ประกอบฉากที่อาจเป็นอันตรายต่อเด็กเล็ก และอุปกรณ์ควรสอดคล้องกับฉากและสอดคล้องกับการกระตุ้นพัฒนาการทั้ง 4 ด้านของผู้เรียน และควรฝึกวินัยผู้เรียนให้ปฏิบัติกิจกรรมตามลำดับขั้นที่ครูกำหนดให้ ไม่ใช่วิ่งเล่นไปทั่วสนามหญ้า หรือรื้อค้นอุปกรณ์จนยุ่งเหยิงไปหมด

วันอังคารที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2556


การเข้าเรียนครั้งที่ 18 เรียนชดเชย
วันที่ 29  กันยายน  2556

กิจกรรมการเรียนการสอน

องค์ความรู้ทีได้รับ

     - นำเสนอการทดลอง 
     - ส่งชิ้นงานทุกชิ้น  ได้แก่
       1.  สื่อเข้ามุมวิทยาศาสตร์
       2.  ของเล่นวิทยาศาสตร์


                           
            นำเสนอการทดลองวิทยาศาสตร์  "ทำอย่างไรไม่ให้มีน้ำตาเทียน"







วัสดุอุปกรณ์
  1. เทียน 2 เล่ม
  2. น้ำ
  3. เกลือ
  4. ไฟเช็ก
                     วิธีทำ
  1. นำเทียนเล่มที่ 1 มาทาน้ำที่ผสมกับเกลือ
  2. จากนั้นก็เอาเทียนทั้งสองเล่ม มาจุดไฟพร้อมๆกันแล้วให้เด็กสังเกตว่าเล่มไหนมีน้ำตาเทียน เล่มไหนไม่มี
               ประโยชน์ที่ได้
  1. เด็กได้นำความรู้ที่ใช้ ไปใช่ในชีวิตประจำวัน
  2. เด็กได้รู้ว่าเทียนที่เห็นทำมาจากอะไร
จิ๊กซอว์ หรรษา



วัสดุอุปกรณ์
1. ภาพวัฏจักรของกบ
2. กระดาษหลังรูป หรือกระดาษแข็ง
3. สีไม้
4. ไม้บรรทัดเหล็ก
5. คัตเตอร์คมๆ
6. แผ่นรองตัด
7. ดินสอ

วิธีทำ
อุปกรณ์พร้อม กายพร้อม ใจพร้อม มาเริ่มกันเลย
1.วางภาพถ่ายเป็นแบบ วาดรูปลงในกระดาษแข็งที่เราตัดเป็นวงกลม ระบายสีให้สวยตามใจชอบ
2.เมื่อระบายสีเสร็จแล้ว ให้นำคัดเตอร์ มาตัดแผ่นกระดาษที่เราวาดวัฏจักรของกบเป็นส่วนๆ
 3. เจาะช่องตามขอบรูป นำกรอบที่ได้มาติดเข้ากับกระดาษที่ตัดเตรียมไว้อีกชิ้นหนึ่ง
 4.วาดเส้นลงบนด้านหลังของรูปที่ผนึกลงบนกระดาษขั้นตอนนี้อาจให้เด็กๆ ช่วยวาดก็ได้
 5.ตัดตามรอยที่วาดไว้ ด้วยคัตเตอร์คมๆจะได้จิกซอว์ที่มีชิ้นเดียวในโลก ฝีมือเราเอง

ประโยชน์ที่ได้รับ
1.             เด็กได้เรียนรู้วัฏจักรของกบ เป็นอย่างไร
2.             เด็กได้ฝึกสมาธิในการต่อจิ๊กซอว์
3.             นอกจากครูจะวาดรูปเพื่อที่จะทำจิ๊กซอว์เปลี่ยนให้เด็กวาดเองฝึกจินตนาการของเด็ก

บันไดเห็ด

               วัสดุอุปกรณ์
1.กระดาษแข็ง
2.ยางลบ
3. สีไม้
4. ไม้บรรทัดเหล็ก
5. คัตเตอร์คมๆ
6. แผ่นรองตัด
7. ดินสอ
8. แผ่นเคลือบ

วิธีทำ
1.             ตัดกระดาษแข็งเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส
2.             ตีตารางลงกระดาษแข็งเป็นช่องๆ ทั้งหมด 42 ช่อง วาดรูปเห็ดต่างๆในแต่ละช่อง
3.             ระบายสีให้สวยงาม
4.             เคลือบแผ่นใส เพื่อเก็บรักษาไว้ได้นาน

ประโยชน์ที่ได้รับ
1.             เด็กรู้จักเห็ดแต่ละชนิด ว่าเห็ดไหนทานได้ เห็ดไหนมีพิษ
2.             เด็กได้ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน
3.             เด็กมีความรู้รอบตัวเกี่ยวกับเด็ก







วันศุกร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556




การเข้าเรียนครั้งที่ 16
วันที่  18  กันยายน  2556


กิจกรรมการเรียนการสอน

องค์ความรู้ที่ได้รับ

         วันนี้เป็นการลงมือปฏิบัติจริงในการทำไข่ตุ๋น กิจกรรม cooking หลังจากที่ได้เขียนแผนการจัดประสบการณ์ไปแล้ว  เมื่อวันที่  15  กันยายน  2556

ขั้นตอนการจัดประสบการณ์ cooking .. ไข่ตุ๋นแฟนซี

  1.  ครูจัดเด็กนั่งเป็นครึ่งวงกลม  แล้วนำอุปกรณ์ที่จะทำกิจกรรม cooking ในวันนี้วางไว้ข้างหน้า 
  2.  ครูเสริมแรงเด็กโดยการใช้คำถาม  เช่น
          "เด็กๆค่ะ ลองทายสิค่ะว่าวันนี้คุณครูจะทำอะไรให้เด็กๆทานกัน??"
          "เด็กๆเห็นอะไร ด้านหน้าของคุณครูบ้างค่ะ"
          " วันนี้คุณครูจะทำไข่ตุ๋น เด็กเคยทานไข่ตุ๋นไหมค่ะ  ไข่ตุ๋นเป็นยังไง เด็กคนเก่งคนไหนจะมาช่วยคุณครูทำบ้างค่ะยกมือขึ้นค่ะ "



  3.  ครูเริ่มแนะนำอุปกรณ์ ถาม - ตอบกับ เด็กๆ เป็นระยะๆ



    4.  ครูให้เด็กอาสาสมัครออกมาหั่นผัก  ได้แก่  ผักชี  ต้นหอม และแครอท


   5.  คุณครูให้เด็กๆ ทำไข่ตุ๋นไปพร้อมๆกัน โดยการใส่ผักชี แครท ต้นหอม เอง



    6.   นำถ้วยไข่ตุ๋นใส่ในหม้อนึ่ง รอประมาณ 15-20 นาที   ระหว่างการรอไข่ตุ๋นสุกนั้นครูและเด็กๆร่วมกันสนทนาถึงการทำไข่ตุ๋นครั้งนี้




   7.   เมื่อไข่ตุ๋นเสร็จแล้ว ก็นำไปให้เด็กๆทาน บอกเด็กๆว่าวันนี้กลับไปทำให้คุณพ่อ กับคุณแม่ทานน่ะค่ะ



ทักษะที่ได้รับ
        
     1.   ทักษะเด็กสามารถเรียนรู้วิธีการทำอาหารด้วยตนเอง
     2.   ทักษะการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ว่าต้องนึ่งไข่ตุ๋น กี่นาที ถึงจะสำเร็จ
     3.   ทักษะการใช้กล้ามเนื้อมือมัดเล็กในการตีไข่

การนำไปประยุกต์ใช้

    1.   การจัดกิจกรรม cooking ให้กับเด็กปฐมวัย
    2.   การกิจกรรมที่ทำในวันนี้ไปใช่ในชีวิตประจำวันและประกอบอาชีพในอนาตต


การเข้าเรียนครั้งที่ 15 

วันที่ 15 กันยายน 2556

หมายเหตุ
                          วันนี้มีเรียนชดเชยแต่ดิฉันไม่ค่อยสบายเลยไม่ได้ไปเรียนค่ะ







การเข้าเรียนครั้งที่ 14

วันที่  11   กันยายน 2556



กิจกรรมการเรียน  การสอน

    *ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากผู้สอนติดภาระกิจทางราชการต่างจังหวัด*

หมายเหตุ
              
  *ได้มอบหมายให้เตรียมเอกสารที่ไปศึกษาดูงานมาแล้วให้เรียบร้อย*






การเข้าเรียนครั้งที่ 13
วันที่ 4  กันยายน  2556

กิจกรรมการเรียน การสอน



*ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากอาจารย์ติดภาระกิจราชการ*

หมายเหตุ

ได้มอบหมายงานไว้ คือ  การจัดเตรียมเอกสารเพื่อสรุปการไปศึกษาดูงาน 







การเข้าเรียนครั้งที่ 12 

วันที่ 28  สิงหาคม  2556

* ศึกษาดูงาน 27-28  สิงหาคม 2556*



ณ สาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา   และ  โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จ.บุรีรัมย์


โรงอาหารที่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา


ฟังคำบรรยายจากคุณครูถึงการจัดตั้งโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา


เยี่ยมชมการเรียนการสอนโดยมีนโยบายว่าเป็นโรงเรียนนอกกะลา


การเรียนการสอนของ ณ สาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา 


ระหว่าเดินทางกลับ และแวะชมโรงเกลือ


อาจารย์พามาเที่ยว กราบไหว้ ย่าโม เพื่อเป็นสิริมงคลแก่การเดินทาง


เข้ามาซัก ถามพูดคุยกับเด็กๆ^^




วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556



การเข้าเรียนครั้งที่ 11
วันที่ 21 สิงหาคม 2556

กิจกรรมการเรียนการสอนในวันนี้

ไม่มีการเรียนการสอน

แต่อาจารย์มีงานให้ทำ คือ การทดลองวิทยาศาสตร์ ประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์





การเข้าเรียน ครั้งที่ 10
วันที่ 14 สิงหาคม 2556

สิ่งที่ได้เรียนรู้

  • อาจารย์ได้นัดหมายให้ไปดูงานที่่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จ.บุรีรัมย์ ในวันที่ 27 - 28 สิงหาคม 2556




การเข้าเรียนครั้งที่ 9
วันที่ 7 สิงหาคม 2556



     หมายเหตุ 
                        เนื่องจากวันนี้อาจารย์ให้เข้าร่วมอบรม โครงการ กายงามใจดี ศรีปฐมวัย
      ความรู้ที่ได้จากการเข้าอบรมครั้งนี้ ดิฉันได้เรียนรู้มารยาทที่ดี และสอนในเรื่องการรู้จักเคารพครู                อาจารย์ และบุคคลทั่วไป นอกจากนั้นยังสอนวิธีการไหว้อีกด้วยค่ะ












การเข้าเรียนครั้งที่ 8
วันที่ 31 กรกฏาคม 2556


หมายเหตุ ไม่มีการเรียนการสอนเพราะสอบกลางภาค

  

                          

การเข้าเรียนครั้งที่ 7

วันที่ 24 กรกฏาคม 2556
    สิ่งที่ได้เรียนรู้

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์


           วิทยาศาสตร์ หมายถึง ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ที่ใช้หาความรู้ทางวิทยาศาสตร์(พิพัฒธ์  เดชะคุปต์,2540 : 220-221) ดังนั้น การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ที่แท้จริง ในปัจจุบันมิได้มุ่งเฉพาะเนื้อหาความรู้ที่ได้จากการค้นคว้า และเรียบเรียงไว้อย่างเป็นระเบียบ แต่หมายถึง กระบวนการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ด้วยการสอนวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้อง ควรให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการเรียนวิทยาศาสตร์ ดังที่ คลอฟเฟอร์ (Klopfer in Bloom 1971:566-580) ได้กำหนดพฤติกรรมของนักเรียน ซึ่งบรรลุวัตถุประสงค์การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ไว้ 5 ประการ ดังนี้ คือ 
  1. มีความรู้ความเข้าใจ
  2. ใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์
  3. มีการนำความรู้ และวิธีการทางวิทยาศาสตร์ไปใช้
  4. มีเจตคติ และความเข้าใจ
  5. มีทักษะในการปฏิบัติ
                กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ( Process of Science )   คือ   พฤติกรรมที่ผู้เรียนแสวงหาความรู้ และแก้ปัญหาโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นเครื่องมือซึ่งการดำเนินการต้องอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Science Process Skill) และเจตคติทางวิทยาศาสตร์หรือจิตวิทยาศาสตร์ (Scientific Attitude) (พิพัฒธ์  เดชะคุปต์,2540 : 220-221)
                วิธีการทางวิทยาศาสตร์ ( Scientific Method )       เป็นวิธีการที่นักวิทยาศาสตร์ใช้แสวงหาความรู้ แก้ปัญหา โดยมีขั้นตอน ดังนี้(พิพัฒธ์  เดชะคุปต์,2540 : 221)
  1. ระบุปัญหา
  2. ตั้งสมมุติฐาน
  3. ทำการทดลอง
  4. สังเกตขณะทดลอง
  5. รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูล
  6. ตรวจสอบข้อมูล
  7. สรุปผลการทดลอง
                การดำเนินการแก้ปัญหา โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์จะสัมฤทธิ์ผลมากน้อยเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับ  ผู้ดำเนินการจะมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มากน้อยเพียงใด ซึ่งทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เปรียบเสมือนเครื่องมือที่จำเป็นในการแสวงหาความรู้ และแก้ปัญหา
 ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
                การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวิทยาศาสตร์นั้น ผู้สอนจำเป็นจะต้องให้ผู้เรียนฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นทักษะพื้นฐานให้เกิดกับผู้เรียน 13 ทักษะ มีรายละเอียดดังนี้
(ดร.สุวิทย์  มูลคำ. 2547:38-41)
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ประกอบด้วย 13 ทักษะ  ดังนี้
                1. ทักษะขั้นมูลฐาน 8 ทักษะ ได้แก่
1.1    ทักษะการสังเกต ( Observing )
1.2    ทักษะการวัด ( Measuring )
1.3    ทักษะการจำแนกหรือทักษะการจัดประเภทสิ่งของ ( Classifying )
1.4    ทักษะการใช้ความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา
( Using Space/Relationship )
1.5    ทักษะการคำนวณและการใช้จำนวน ( Using Numbers )
1.6    ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล ( Comunication )
1.7    ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล ( Inferring )
1.8    ทักษะการพยากรณ์ ( Predicting )
        2. ทักษะขั้นสูงหรือทักษะขั้นผสม 5 ทักษะ ได้แก่
2.1  ทักษะการตั้งสมมุติฐาน ( Formulating Hypthesis )
2.2  ทักษะการควบคุมตัวแปร ( Controlling Variables )
2.3  ทักษะการตีความและลงข้อสรุป ( Interpreting data )
2.4  ทักษะการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ ( Defining Operationally )
2.5  ทักษะการทดลอง ( Experimenting )
รายละเอียดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทั้ง 13 ทักษะ มีรายละเอียดโดยสรุปดังนี้
ทักษะการสังเกต ( Observing )       หมายถึงการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง    5    ในการ
สังเกต ไก้แก่ ใช้ตาดูรูปร่าง ใช้หูฟังเสียง ใช้ลิ้นชิมรส ใช้จมูกดมกลิ่น และใช้ผิวกายสัมผัสความร้อนเย็น หรือใช้มือจับต้องความอ่อนแข็ง เป็นต้น การใช้ประสาทสัมผัสเหล่านี้จะใช้ทีละอย่างหรือหลายอย่างพร้อมกัน เพื่อรวบรวมข้อมูลก็ได้โดยไม่เพิ่มความคิดเห็นของผู้สังเกตลงไป
 ทักษะการวัด ( Measuring ) หมายถึง การเลือกและการใช้เครื่องมือวัดปริมาณของสิ่งของออกมาเป็นตัวเลขที่แน่นอนได้อย่างเหมาะสม และถูกต้องโดยมีหน่วยกำกับเสมอในการวัดเพื่อหาปริมาณของสิ่งที่วัดต้องฝึกให้ผู้เรียนหาคำตอบ 4 ค่า คือ จะวัดอะไร วัดทำไม ใช้เครื่องมืออะไรวัดและจะวัดได้อย่างไร
ทักษะการจำแนกหรือทักษะการจัดประเภทสิ่งของ ( Classifying ) หมายถึง การแบ่งพวกหรือการเรียงลำดับวัตถุ หรือสิ่งที่อยู่ในปรากฏการณ์โดยการหาเกณฑ์หรือสร้างเกณฑ์ในการจำแนกประเภท ซึ่งอาจใช้เกณฑ์ความเหมือนกัน ความแตกต่างกัน หรือความสัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ ซึ่งแล้วแต่ผู้เรียนจะเลือกใช้เกณฑ์ใด นอกจากนี้ควรสร้างความคิดรวบยอดให้เกิดขึ้นด้วยว่าของกลุ่มเดียวกันนั้น อาจแบ่งออกได้หลายประเภท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่เลือกใช้ และวัตถุชิ้นหนึ่งในเวลาเดียวกันจะต้องอยู่เพียงประเภทเดียวเท่านั้น
ทักษะการใช้ความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา(Using Space/Relationship)
หมายถึง การหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติต่างๆ ที่เกี่ยวกับสถานที่ รูปทรง ทิศทาง ระยะทาง พื้นที่ เวลา ฯลฯ เช่น
                                        การหาความสัมพันธ์ระหว่าง สเปสกับสเปส คือ การหารูปร่างของวัตถุ โดยสังเกตจากเงาของวัตถุ เมื่อให้แสงตกกระทบวัตถุในมุมต่างๆกัน ฯลฯ
                                        การหาความสัมพันธ์ระหว่าง เวลากับเวลา เช่น การหาความสัมพันธ์ระหว่างจังหวะการแกว่งของลูกตุ้มนาฬิกากับจังหวะการเต้นของชีพจร ฯลฯ
                                        การหาความสัมพันธ์ระหว่าง    สเปสกับเวลา เช่น การหาตำแหน่งขอวัตถุที่เคลื่อนที่ไปเมื่อเวลาเปลี่ยนไป ฯลฯ
 ทักษะการคำนวณและการใช้จำนวน ( Using Numbers )   หมายถึง การนำเอาจำนวนที่ได้จากการวัด การสังเกต และการทดลองมาจัดกระทำให้เกิดค่าใหม่ เช่น การบวก ลบ คูณ หาร การหาค่าเฉลี่ย การหาค่าต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ เพื่อนำค่าที่ได้จากการคำนวณ ไปใช้ประโยชน์ในการแปลความหมาย และการลงข้อสรุป ซึ่งในทางวิทยาศาสตร์เราต้องใช้ตัวเลขอยู่ตลอดเวลา เช่น การอ่าน เทอร์โมมิเตอร์ การตวงสารต่าง ๆเป็นต้น                        
ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล ( Communication )
หมายถึงการนำเอาข้อมูล ซึ่งได้มาจากการสังเกต การทดลอง ฯลฯ มาจัดกระทำเสียใหม่ เช่น นำมาจัดเรียงลำดับ หาค่าความถี่ แยกประเภท คำนวณหาค่าใหม่ นำมาจัดเสนอในรูปแบบใหม่ ตัวอย่างเช่น กราฟ ตาราง แผนภูมิ แผนภาพ วงจร ฯลฯ การนำข้อมูลอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายๆอย่างเช่นนี้เรียกว่า การสื่อความหมายข้อมูล
ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล( Inferring  ) หมายถึง การเพิ่มเติมความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่มีอยู่อย่างมีเหตุผลโดยอาศัยความรู้หรือประสบการณ์เดิมมาช่วย ข้อมูลอาจจะได้จากการสังเกต การวัด การทดลอง การลงความเห็นจากข้อมูลเดียวกันอาจลงความเห็นได้หลายอย่าง
ทักษะการพยากรณ์ (  Predicting  )  หมายถึงการคาดคะเนหาคำตอบล่วงหน้าก่อนการทดลองโดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากการสังเกต การวัด รวมไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ได้ศึกษามาแล้ว หรืออาศัยประสบการณ์ที่เกิดซ้ำ
ทักษะการตั้งสมมุติฐาน( Formulating Hypothesis ) หมายถึง การคิดหาค่าคำตอบล่วงหน้าก่อนจะทำการทดลอง โดยอาศัยการสังเกต ความรู้ ประสบการณ์เดิมเป็นพื้นฐาน คำตอบที่คิดล่วงหน้ายังไม่เป็นหลักการ กฎ หรือทฤษฎีมาก่อน คำตอบที่คิดไว้ล่วงหน้านี้ มักกล่าวไว้เป็นข้อความที่บอกความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรต้นกับตัวแปรตามเช่น ถ้าแมลงวันไปไข่บนก้อนเนื้อ หรือขยะเปียกแล้วจะทำให้เกิดตัวหนอน
 ทักษะการควบคุมตัวแปร ( Controlling  Variables ) หมายถึงการควบคุมสิ่งอื่นๆ นอกเหนือจากตัวแปรอิสระ ที่จะทำให้ผลการทดลองคลาดเคลื่อน ถ้าหากว่าไม่ควบคุมให้เหมือนๆกัน และเป็นการป้องกันเพื่อมิให้มีข้อโต้แย้ง ข้อผิดพลาดหรือตัดความไม่น่าเชื่อถือออกไป
  ตัวแปรแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
  1. ตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น
  2. ตัวแปรตาม
  3. ตัวแปรที่ต้องควบคุม
ทักษะการตีความและลงข้อสรุป ( Interpreting data ) 
              ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของลักษณะตาราง  รูปภาพกราฟ ฯลฯ การนำข้อมูลไปใช้จึงจำเป็นต้องตีความให้สะดวกที่จะสื่อความหมายได้ถูกต้องและเข้าใจตรงกัน
               การตีความหมายข้อมูล คือ การบรรยายลักษณะและคุณสมบัติ
              การลงข้อสรุป คือ การบอกความสัมพันธ์ของข้อมูลที่มีอยู่ เช่น ถ้า ความดันน้อย น้ำจะเดือด ที่อุณหภูมิต่ำหรือน้ำจะเดือดเร็ว ถ้าความดันมากน้ำจะเดือดที่อุณหภูมิสูงหรือน้ำจะเดือดช้าลง
ทักษะการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ (Defining Operationally )หมายถึง การกำหนดความหมาย และขอบเขตของคำต่าง ๆที่มีอยู่ในสมมุติฐานที่จะทดลองให้มีความรัดกุม เป็นที่เข้าใจตรงกันและสามารถสังเกตและวัดได้ เช่น “ การเจริญเติบโต ” หมายความว่าอย่างไร ต้องกำหนดนิยามให้ชัดเจน เช่น การเจริญเติบโดหมายถึง มีความสูงเพิ่มขึ้น เป็นต้น
ทักษะการทดลอง ( Experimenting )  หมายถึง กระบวนการปฏิบัติการโดยใช้ทักษะต่างๆ เช่น การสังเกต การวัด การพยากรณ์ การตั้งสมมุติฐาน ฯลฯ มาใช้ร่วมกันเพื่อหาคำตอบ หรือทดลองสมมุติฐานที่ตั้งไว้ ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรม 3 ขั้นตอน
  1. การออกแบบการทดลอง
  2. การปฏิบัติการทดลอง
  3. การบันทึกผลการทดลอง
      การใช้กระบวนการวิทยาศาสตร์ แสวงหาความรู้ หรือแก้ปัญหาอย่างส่ำเสมอ ช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ เกิดผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ เกิดผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ ที่แปลกใหม่ และมีคุณค่าต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์มากขึ้น
 คุณภาพของผู้เรียนวิชาวิทยาศาสตร์ที่จบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
( กระทรวงศึกษาธิการ. 2545 : 4 )
  1. เข้าใจเกี่ยวกับสิ่งที่มีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต และความหลากหลายทาง
ชีวภาพ และความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิติกับสิ่งแวดล้อม
     2.เข้าใจสมบัติของสาร  และการเปลี่ยนแปลงของสาร แรง และการเคลื่อนที่พลังงาน
    3.เข้าใจโครงสร้าง  และองค์ประกอบของโลก ความสำคัญของทรัพยากรทางธรณี
ดาราศาสตร์ และอวกาศ
      4.ใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ กระบวนการแก้ปัญหาในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ด้วยการลงมือปฏิบัติจริง ศึกษาค้นคว้า สืบค้นจากแหล่งเรียนรู้หลากหลาย และจากเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และสื่อสารความรู้ในรูปแบบต่างๆให้ผู้อื่นรับรู้
    5.เชื่อมโยงความรู้กับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน และศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม ทำโครงงานวิทยาศาสตร์ หรือชิ้นงาน
   6.มีเจตคติทางวิทยาศาสตร์ หรือจิตวิทยาศาสตร์ ดังนี้
      - ความสนใจใฝ่รู้
      - ความมุ่งมั่นอดทนรอบคอบ
      - ความซื่อสัตย์ประหยัด
      - การร่วมแสดงความคิดเห็น และการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
       - ความมีเหตุผล
       -  การทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์
    7.มีเจตคติ คุณธรรม ค่านิยมที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม
       -   มีความพอใจ ซาบซึ้ง ความสุขในการสืบเสาะหาความรู้และรักที่จะเรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต
       -   ตระหนักในความสำคัญ และประโยชน์ของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีมีผลต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม
       -  แสดงความชื่นชม ยกย่องและเคารพในสิทธิและผลงานที่ผู้อื่น และตนคิดค้นขึ้น
        -  แสดงความซาบซึ้งในความงาม    และตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ     และสิ่ง             แวดล้อม      เข้าร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับการอนุรักษ์พัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมใน                 โรงเรียนและท้องถิ่น
       -   ตระหนักและยอมรับความสำคัญของการใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้และการทำงานต่าง ๆ
      บทสรุป   หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย 8 สาระ คือ สาระที่ 1 สิ่งที่มีชีวิตกระบวนการดำรงชีวิติ สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม, สาระที่ 3  สาร และสมบัติขอสาร , สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่ , สาระที่ 5 พลังงาน , สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก , สาระที่ 7 ดาราศาสตร์ และอวกาศ , สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ครูวิทยาศาสตร์จำเป็นจะต้อง วางแผนการจัดการเรียนรู้ โดยยึดมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นที่ 2 ( ป.4 - ป.6 )  และผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี จะช่วยให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ นักเรียนมีคุณภาพตามที่หลักสูตรกำหนด
           กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Process of  Science) คือ พฤติกรรมที่ผู้เรียนแสวงหาความรู้ และแก้ปัญหาโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือ
         วิธีการทางวิทยาศาสตร์ ( Scientific Method ) เป็นวิธีที่นักวิทยาศาสตร์ใช้แสวงหาความรู้แก้ปัญหา มี 7 ขั้นตอน คือ 1.ระบุปัญหา, 2. ตั้งสมมติฐาน,3. ทำการทดลอง,4. สังเกตขณะทดลอง, 5. รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล,  6. ตรวจสอบข้อมูล,  7. สรุปผลการทดลอง
          ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มี 13 ทักษะ คือ 1.การสังเกต, 2.การวัด, 3.การจำแนกหรือจัดประเภทสิ่งของ,  4.การใช้ความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา,  5.การคำนวณ และการใช้จำนวน,  6.การจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล,  7.การลงความเห็นจากข้อมูล,  8.การพยากรณ์,   9.การตั้งสมมติฐาน,  10.การควบคุมตัวแปร,  11.การตีความและลงข้อสรุป, 12.การกำหนดนิยาม
เชิงปฏิบัติการ, 13.การทดลอง